วันพฤหัสบดีที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2560

หน่วยที่ 1 การถ่ายทอดแนวคิดสู่ชิ้นงาน

ความหมายของสตอรี่บอร์ด


สตอรี่บอร์ด (Story Board) คือ การเขียนกรอบแสดงเรื่องราวที่สมบูรณ์ของภาพยนตร์หรือหนังแต่ละเรื่อง โดยมีการแสดงรายละเอียดที่จะปรากฏในแต่ละฉากหรือแต่ละหน้าจอ เช่น ข้อความ ภาพ ภาพเคลื่อนไหว เสียงดนตรี เสียงพูดและแต่ละอย่างนั้นมีลำดับของการปรากฏว่าอะไรจะปรากฏขึ้นก่อน-หลัง อะไรจะปรากฏพร้อมกัน เป็นการออกแบบอย่างละเอียดในแต่ละหน้าจอก่อนที่จะลงมือสร้างเอนิเมชันหรือ หนังขึ้นมาจริงๆ
-                   Storyboard คือ การสร้างภาพให้เห็นลำดับขั้นตอนตามเนื้อเรื่องที่ต้องการ โดยเฉพาะภาพเคลื่อนไหว
-                   รายละเอียดที่ควรมีใน Storyboard ได้แก่ คำอธิบายแต่ละสื่อที่ใช้ (ข้อความ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว เสียง วีดิโอ)

ส่วนประกอบของสตอรี่บอร์ด

สตอรี่บอร์ด จะประกอบไปด้วยชุดของภาพ Sketches ของ shot ต่างๆ พร้อมคำบรรยายหรือบทสนทนาในเรื่อง ซึ่งอาจจะทำการเขียนเรื่องย่อและบทก่อน หรือSketches ภาพก่อนก็ได้ แล้วจึงค่อยใส่คำบรรยายลงไป อาจมีบทสนทนาหรือไม่มีบทสนทนาก็ได้ และสำหรับการกำหนดเสียงในแต่ละภาพต้องพิจารณาว่าภาพและเสียงไปด้วยกันได้หรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นเสียงดนตรี เสียงธรรมชาติหรือเสียงอื่นๆ

การจัดทำสตอรี่บอร์ด
จุดสำคัญคือ ทุกเหตุการณ์จะเป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกัน เหตุการณ์ก่อนหน้าจะทำให้เหตุการณ์ต่อมามีน้ำหนักมากขึ้น 
และต้องหา จุด Climax ของเรื่องให้ได้ จุดนี้จะเป็นจุดที่น่าตื่นเต้นที่สุดก่อนที่จะเฉลย

ขั้นตอนการทำสตอรี่บอร์ด

                        แบบฟอร์มการเขียนสตอรี่บอร์ดแบบต่างๆ
แบบที่ 1


แบบที่ 2

แบบที่ 3

ตัวอย่างสตอรี่บอร์ด (Story Board)

หน่วยที่5 แกรมยูทิลิตี้

หน่วยที่ 5 การใช้โปรแกรมยูทิลิตี้

หน่วยที่ 5 การใช้โปรแกรมยูทิลิตี้


โปรแกรม Nero Burning Rom 11

Nero Burning Rom เป็นโปรแกรมการเขียนซีดี ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งมคุณสมบัติที่ช่วยให้การเขียนแผ่นซีดีสะดวก 

โปรแกรมป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์

ไวรัส คือ โปรแกรมที่ถูกร้างขึ้นโดยมีวัตุถุประสงค์เพื่อการก่อกวน ทำให้เกิดความเสียหาย เช่น ทำลายข้อมูล

หน่วยที่4 การเลือกใช้และติดตั้งระบบปฏิบัติการ

หน่วยที่ 4 การเลือกใช้และติดตั้งระบบปฏิบัติการ

หน่วยที่ 4 การเลือกใช้และติดตั้งระบบปฏิบัติการ

ระบบปฏิบัติการแบบเปิด
เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้หลายประเภท ไม่ยึดติดกับเครื่องคอมพิวเตอร์ประเภทใด เช่น ระบบปฏิบัติการ Unix, Linux, Ubuntu



ระบบปฏิบัติการแบบปิด
เป็นระบบปฏิบัติการที่สร้างขึ้นมาเพื่อใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ ระบบหนึ่งระบบใดหรือยี่ห้อหนึ่ง ยี่ห้อใดเท่านั้น 

การ Log on เพื่อเข้าใช้งาน
1. คลิกที่รูป User account หรือกด Enter เพื่อเข้าใช้งานวินโดวส์
2. ถ้ามีรหัสผ่านก็ให้ใส่รหัสผ่านลงในช่องนี้ก่อน
3. กด Enter หรือคลิกที่ปุ่มนี้เพื่อเข้าสู่การใช้งานวินโดวส์

การปรับแต่งหน้าตาของ Windows
1.การตั้งภาพ Wallpaper
2.การเลือกใช้สีพื้นหลัง
3.การเปลี่ยนรูปแบบไอคอน
4.การย้ายและการจัดเรียงไอคอน

สกรีนเซฟเวอร์
สกรีนเซฟเวอร์ เป็นโปรแกรมใช้สำหรับพักหน้าจอเมื่อเปิดเครื่องทิ้งไว้ แต่ยังไม่ได้ใช้งาน สกรีนเซฟเวอร์จะแสดงรูป หรือข้อความ เพื่อป้องกันแสงบนจอภาพ

วิธีการปรับแต่งสกรีนเซฟเวอร์
1.การปรับแต่งสกรีนเซฟเวอร์ 
2.การปรับตั้งความละเอียดและสีของภาพ

การปรับแต่งทาสก์บาร์มีหัวข้อดังนี้
1. การย้ายทาสก์บาร์
2. การสอนทาสก์บาร์

การปรับแต่งทาสก์บาร์
ทาสก์บาร์มีลักษณะเป็นแถบเล็ก ๆ ปกติทาสก์บาร์จะอยู่ด้านล่างของหน้าจอจะมีปุ่ม Start และเครื่องมือต่าง ๆ อยู่ในนั้น
ส่วนแสดงรายชื่อของโฟลเดอร์
2.ปุ่มย้อนหลัง เดินหน้า
3.ทูลบาร์
4.บาร์แสหน้าที่และการใช้งานของหน้าต่างโปรแกรม
1.ดงเส้นทางที่อยู่ที่เก็บข้อมูล
5.ชื่อ/รายละเอียดของห้องที่เก็บข้อมูล
6.ส่วนของหัวคอลัมน์
7.แสดงรายชื่อไฟล์ แสดงรายชื่อพร้อมรายละเอียด
8.กล่องสำหับค้นหา
9.แสดงรายละเอียด
การย่อ – ขยาย Windows ด้วยการคลิกลาก
การคลิกลากเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยในการ ย่อ หรือขยาย หน้าต่าง หรือ Windows ให้มีขนาดตามต้องการ
การเรียกใช้งานโปรแกรม
1.การเรียกใช้งานโปรแกรมจากปุ่ม Start
2.การเรียกใช้งานโปรแกรมด้วยคำสั่ง Search
3.การเรีกใช้งานโปรแกรมด้วยไอคอน
4.การเรียกใช้งานคำสั่ง MS-Dos Prompt

การออกจาก Windows
การออกจากวินโวส์ ควรปิดโปรแกรมที่เรียกขึ้นมาใช้งานทุกโปรแกรม แล้วจึงทำการปิดเครื่องโดยสามารถที่จะเลือกคำสั่งได้แล้วแต่ความต้องการ
ความหมายและความสำคัญของระบบเครื่อข่าย
สิ่งที่สำคัญที่ทำให้ระบบข้อมูลมีขีดความสามารถเพิ่มขึ้นคือ การโอนย้ายข้อมูล ระหว่างกัน และการเชื่อมต่อหรือการสื่อสาร
เครื่องลูกข่าย
เครื่องลูกข่าย หรือไคลเอนด์ เป็นระบบหรือแอพพลิเคชั่นที่สามารถเชื่อมต่อเข้ากับระบบคอมพิวเตอร์อื่นที่เรียกว่าเซิร์ฟเวอร์ได้
อุปกรณ์พกพา
อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เมื่อพิจารณาเครื่อข่ายการสื่อสารทั่วไปจากอดีตจนถึงปัจจุบัน เห็นได้ชัดว่ามนุษย์ใช้อุปกรณ์การสื่อสารแบบพกพามากขึ้นเรื่อย ๆ

คอมพิวเตอร์พกพา
คอมพิวเตอร์พกพา เรียกสั้น ๆ ว่า แท็บแล๊ต เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีลักษณะการทำงานทุกอย่างไว้บนหน้าจอสัมผัสโดยใช้ปากกาสไตลัส ปากกาดิจิทัล หรือปลายนิ้ว
ระบบปฏิบัติการที่ใช้ในแท็บแล๊ต
1.ระบบปฏิบัติการ ไอโอเอส
2.ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์
3.ระบบปฏิบัติการแบล็คเบอลี่ โอเอส
4.ระบบปฏิบัติการวินโดวส์

หน่วยที่3 ระบบปฏิบัติการ

หน่วยที่ 3 ระบบปฏิบัติการ

หน่วยที่ 3 ระบบปฏิบัติการ

ระบบปฏิบัติการ (operating system) หรือ โอเอส (OS) เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไป บางครั้งเราอาจะเห็นระบบปฏิบัติการเป็นเฟิร์มแวร์ก็ได้ ระบบปฏิบัติการช่วยให้ตัวซอฟต์แวร์ประยุกต์ ไม่ต้องจัดการเรื่องเหล่านั้นด้วยตนเอง เพียงแค่เรียกใช้บริการจากระบบปฏิบัติการก็พอ ทำให้พัฒนาซอฟต์แวร์ประยุกต์ได้ง่ายขึ้น
ระบบปฏิบัติการถูกสร้างขึ้นมาด้วยวัตถุประสงค์หลักคือ อำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ในลักษณะที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องทราบกลไกการทำงานหรือฮาร์ดแวร์ของระบบ จึงสามารถแบ่ง หน้าที่หลักของระบบปฏิบัติการได้ดังนี้
ติดต่อกับผู้ใช้ (user interface) ผู้ใช้สามารถติดต่อหรือควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ผ่านทางระบบปฏิบัติการได้ โดยระบบปฏิบัติการจะเครื่องหมายพร้อมต์ (prompt) ออกทางจอภาพเพื่อรอรับคำสั่งจากผู้ใช้โดยตรง ตัวระบบปฏิบัติการจึงเป็นตัวกลางที่ทำหน้าที่เชื่อมโยงระหว่างผู้ใช้กับฮาร์ดแวร์ของเครื่อง นอกจากนี้ผู้ใช้อาจเขียนโปรแกรมเพื่อใช้งานกรณีนี้ผู้ใช้ก็สามารถติดต่อกับระบบปฏิบัติการได้โดยผ่านทาง System Call
ควบคุมการทำงานของโปรแกรม และอุปกรณ์รับ/แสดงผลข้อมูล (input/output device) ตลอดจนการให้ความสะดวกแก่ผู้ใช้ในการใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ ได้ง่าย เช่น การเข้าถึงข้อมูลในแฟ้มหรือติดต่อกับอุปกรณ์รับ/แสดงผลข้อมูล จึงทำให้ผู้พัฒนาโปรแกรมไม่จำเป็นต้องเขียนโปรแกรมเพื่อควบคุมตัวขับดิสก์เพราะระบบปฏิบัติการจัดบริการให้มีคำสั่งสำหรับติดต่อกับอุปกรณ์เหล่านี้ได้อย่างง่ายๆเนื่องจากผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ผ่านทางระบบปฏิบัติการ อาจไม่มีความจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจถึงหลักการทำงานภายในของเครื่อง
ดังนั้น ระบบปฏิบัติการจึงมีหน้าที่ควบคุมการทำงานของโปรแกรม การทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อให้การทำงานของระบบเป็นไปอย่างถูกต้องและสอดคล้องกัน ระบบปฏิบัติการจึงมีส่วนประกอบของหน้าที่ต่างๆ ที่ควบคุมอุปกรณ์แต่ละชนิดที่มีหน้าที่แตกต่างกันไป โดยผู้ใช้อาจเรียกใช้ผ่านทาง System Call หรือเขียนโปรแกรมขึ้นมาควบคุมอุปกรณ์เหล่านั้นได้เอง
จัดสรรให้ใช้ทรัพยากรระบบร่วมกัน (shared resources)ซึ่งทรัพยากรหลักที่ต้องมีการจัดสรร ได้แก่ หน่วยประมวลผลกลาง หน่วยความจำหลัก อุปกรณ์รับ/แสดงผลข้อมูลและแฟ้มข้อมูล เช่น การจัดลำดับให้บริการใช้เครื่องพิมพ์การสับหลีกงานหลายงานในหน่วยความจำหลักและการจัดสรรหน่วยความจำหลักให้กับโปรแกรมทั้งหลาย ทรัพยากร คือสิ่งที่ซึ่งถูกใช้ไปเพื่อให้โปรแกรมดำเนินไป ซึ่งเหตุที่ต้องมีการจัดสรรทรัพยากรก็เพราะทรัพยากรของระบบมีขีดจำกัด เช่นซีพียูในระบบมีอยู่เพียงตัวเดียว แต่ทำงานในระบบมัลติโปรแกรมมิ่งมีการทำงานหลายโปรแกรม จึงจะต้องมีการจัดสรรซีพียูให้ทุกโปรแกรมอย่างเหมาะสมทรัพยากรมีอยู่หลายประเภท แต่ละโปรเซสหรือโปรแกรมมีความต้องการใช้ทรัพยากรเพียง อย่างเดียว หรือหลายอย่างพร้อมกัน ระบบปฏิบัติการจึงต้องจัดเตรียมทรัพยากรต่างๆ ตามความต้องการของโปรแกรม
1. ระบบปฏิบัติการ DOS (Disk Operating System)
ระบบ DOS เป็นระบบปฏิบัติการที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยบริษัท IBM เพื่อให้เป็ระบบปฏิบัติการ สําหรับเครื่องพีซี ซึ่งตัวโปรแกรม DOS จะถูก Load หรืออ่านจากแผ่นดิสก์เข้าไปเก็บไว้ในหน่วย ความจําก่อน จากนั้น DOS จะไปทําหน้าที่เป็น ผู้ประสานงานต่าง ๆ ระหว่างผู้ใช้กับอุปกรณ์ 
คอมพิวเตอร์ทั้งหลายโดยอัตโนมัติ โดยที่ DOS จะรับคําสั่งจากผู้ใช้หรือโปรแกรมแล้ว นํ าไป ปฏิบัติตาม โดยการทํางานจะเป็นแบบ Text mode สั่งงานโดยการกดคําสั่งเข้าไปที่ซีพร็อม (C:\>) ดังนั้น ผู้ใช้ระบบนี้จึงต้องจําคําสั่งต่าง ๆ ในการใช้งานจึงจะสามารถใช้งานได้ ระบบปฏิบัติการ DOS ถือได้ว่าเป็นระบบปฏิบัติการที่เก่าแก่. และปัจจุบันนี้มีการใช้งานน้อยมาก

2 .ระบบปฏิบัติการ Microsoft Windows
Windows เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาโดยบริษัท Microsoft ซึ่งจะมีส่วนติดต่อกับ ผู้ใช้ (User interface) เป็นแบบกราฟิก หรือเป็นระบบที่ใช้รูปภาพแทนคําสั่ง เรียกว่า GUI (Graphic User Interface) โดยสามารถสั่งให้เครื่องทํางานได้โดยใช้เมาส์คลิกที่สัญลักษณ์หรือคลิกที่คําสั่งที่ต้องการ ระบบนี้อนุญาตให้ผู้ใช้สามารถใช้งานโปรแกรมได้มากกว่า 1 โปรแกรมในขณะเดียวกันซึ่งถ้าเป็นระบบ DOS หากต้องการเปลี่ยนไปทํางานโปรแกรมอื่น ๆ จะต้องออกจาก โปรแกรงเดิมก่อนจึงจะสามารถไปใช้งานโปรแกรมอื่น ๆ ได้ ในลักษณะการทํา
งานของ Windows จะมีส่วนที่เรียกว่า “หน้าต่าง” โดยแต่ละโปรแกรมจะถือเป็นหน้าต่างหนึ่งหน้าต่าง ผู้ใช้สามารถ สลับไปมาระหว่างแต่ละหน้าต่างได้ นอกจากนี้ระบบ Windows ยังให้โปรแกรมต่าง ๆ สามารถ แชร์ ข้อมูลระหว่างกันได้ผ่านทางคลิปบอร์ด(Clipboard) ระบบ Windows ทําให้ผู้ใช้ ทั่ว ๆไปสามารถทําความเข้าใจ เรียนรู้และใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ง่ายขึ้น

3. ระบบปฏิบัติการ Unix
Unix เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้บนเครื่อง SUN ของบริษัท SUN Microsystems แต่ไม่ได้เป็นคู่แข่งกับบริษัท Microsoft ในเรื่องของระบบปฏิบัติการบนเครื่อง PC แต๋อย่างใด แต่Unix เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช็เทคโนโลยีแบบเปิด (Open system) ซึ่งเป็นแนวคิดที่ผู้ใช้ไม่ต้อง ผูกติดกับ ระบบใดระบบหนึ่งหรืออุปกรณ์ยี่ห้อเดียวกัน นอกจากนี้ Unix ยังถูกออกแบบมาเพื่อ ตอบสนองการใช้งานในลักษณะให้มีผู้ใช้ได้หลายคนในเวลาเดียวกัน เรียกว่า ระบบหลายผู้ใช้ (Multiuser system) และสามารถทํางานได้หลาย ๆ งานในเวลาเดียวกัน ในลักษณะที่เรียกว่า ระบบหลายภารกิจ (Multitasking system)
4. ระบบปฏิบัติการ Linux
Linux เป็นระบบปฏิบัติการเช่นเดียวกับ DOS, Windows หรือ Unix โดยLinuxนั้นจัด ว่าเป็นระบบปฏิบัติการ Unix ประเภทหนึ่ง การที่Linuxเป็นที่กล่าวขานกันมากในช่วงปี 1999 – 2000 เนื่องจากความสามารถของตัวระบบปฏิบัติ การและโปรแกรมประยุกต์ที่ ทํ างานบนระบบ Linux โดยเฉพาะอย่างยิ่งโปรแกรมในตระกูลของ GNU (GNU’s Not UNIX) และสิ่งที่สําคัญที่สุดก็ คือ ระบบ Linux เป็นระบบปฏิบัติการประเภทฟรีแวร์ (Free ware) คือไม่เสียค่าใช้จ่ายในการซื้อ โปรแกรม Linux นั้นมี นักพัฒนาโปรแกรมจากทั่วโลกช่วยกันแก้ไข ทําให้การขยายตัวของ Linux เป็นไปอย่างรวดเร็ว โดยในส่วนของใจกลางระบบปฏิบัติการ หรือ Kernel นั้นจะมีการพัฒนาเป็น รุ่นที่ 2.2 (Linux Kernel 2.2) ซึ่งได้เพิ่มขีดความสามารถและสนับสนุนการทํางานแบบหลายซีพียู


หน่วยที่ 2 หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์

หน่วยที่ 2 หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์

หน่วยรับข้อมูล หรือ หน่วยนำเข้าข้อมูล
เป็นหน่วยเริ่มต้นในการทำงานของคอมพิวเตอร์ เพราะ มีหน้าที่ในการนำข้อมูลหรือคำสั่งต่าง ๆ เข้าไปในระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์
อุปกรณ์รับข้อมูลของหน่วยรับข้อมูล มีหลายชนิด เช่น แป้นพิมพ์ เมาส์ เครื่องสแกน จอยสติก จอสัมผัส แต่ทุกชนิดทำหน้าที่ รับข้อมูลหรือคำสั่ง เข้าสู่ระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ เหมือนกันอุปกรณ์ของหน่วยรับข้อมูล แต่ละชนิดมีวิธีการนำเข้าข้อมูล หรือรับคำสั่ง ตลอดจนลักษณะของรูปแบบข้อมูลที่นำเข้าต่างกัน
หน้าที่สำคัญ
คือ เป็นอุปกรณ์ ที่รับข้อมูล หรือคำสั่ง เข้าสู่ระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ หน่วยรับข้อมูล จึงเป็นหน่วยทำงานที่ช่วยให้ มนุษย์ สามารถติดต่อ สั่งงาน เครื่องคอมพิวเตอร์ได้หน่วยประมวลผล
นิยมเรียกว่า ซีพียู ซึ่งย่อมาจาก Central Processing Unit : CPU บางครั้งเรียกว่า โปรเซสเชอร์

มีหน่วยการทำงานที่สำคัญ ส่วน คือ 
 หน่วยคำนวณและตรรกะ
 หน่วยคำนวณและตรรกะ ทำหน้าที่ใน การคิดคำนวณทางคณิตศาสตร์
และเปรียบเทียบทางตรรกะของข้อมูล

♦ หน่วยควบคุม หน่วยควบคุม ทำหน้าที่ประสานงาน และ ควบคุม การทำงานของคอมพิวเตอร์ โดยจะทำงานประสานกับหน่วยความจำหลัก และหน่วยคำนวณและตรรกะ
หน่วยความจำหลัก
มีหน้าที่ เก็บข้อมูลต่าง ๆ ตลอดจนโปรแกรมต่าง ๆ ขณะที่เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานอยู่ เท่านั้น ถ้าปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ข้อมูลหรือซอฟแวร์ที่เก็บไว้ ในหน่วยความจำหลักจะหายหมด
หน่วยคามจำหลักที่ใช้กับคอมพิวเตอร์แบ่งได้เป็น
1. แรม (Random Access Memory : RAM)
2. รอม (Read Only Memory : ROM)
แรม (RAM)
แรม (RAM)
เป็นหน่วยความจำ ที่เก็บข้อมูลไว้ได้ ถ้ามีกระแสไฟฟ้าแรม จะเก็บข้อมูล ต่าง ๆ ในขณะที่คอมพิวเตอร์ทำงาน
ดังนั้น แรมต้องอาศัยกระแสไฟฟ้า ในการทำงาน   หากไฟฟ้าดับหรือปิดคอมพิวเตอร์ข้อมูลที่เก็บไว้จะสูญหายทันที
รอม (ROM)
รอม (ROM)
            เป็นหน่วยความจำที่บรรจุโปรแกรมสำคัญบางอย่างไว้ รอม สามารถอ่านข้อมูลได้อย่างเดียว
ข้อมูลหรือโปรแกรมที่อยู่ในรอม จะอยู่อย่างถาวร แม้ว่าจะปิดคอมพิวเตอร์ข้อมูล หรือ โปรแกรมก็จะไม่ถูกลบ
หน่วยความจำรอง

มีหน้าที่ในการเก็บข้อมูลหรือโปรแกรม เหมือนกับ หน่วยความจำหลัก แต่ต่างจากหน่วยความจำหลัก คือ หน่วยความจำรอง สามารถจัดเก็บข้อมูล และโปรแกรมไว้ใช้ในภายหลังได้ แม้จะปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ข้อมูลและโปรแกรมที่เก็บไว้ ไม่สูญหายหรือถูกลบทิ้งนอกจากนี้ หน่วยความจำรอง สามารถเพิ่มขนาดความจุได้ เนื่องจากหน่วยความจำหลักจะมีขนาดความจุจำกัด
หน่วยความจำรอง สามารถเพิ่มขนาดความจุได้หน่วยประมวลผลจะเรียกใช้ข้อมูลที่เก็บไว้ในหน่วยความจำรอง ได้จะช้ากว่า หน่วยความจำหลัก
หน่วยส่งออก
หน้าที่ของหน่วยส่งออก 
    หน่วยส่งออก ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์หรือสารสนเทศที่ได้จากการประมวลผลในรูปที่มนุษย์สามารถเข้าใจ อุปกรณ์ส่งออก ที่ใช้ใน ระบบคอมพิวเตอร์ ที่นิยมทั่วไปคือ จอภาพ (monitor) และเครื่องพิมพ์ (printer) อุปกรณ์ส่งออกของคอมพิวเตอร์ ยังมีอีกมากมาย

บทนำ

  ปัจจุบันเทคโนโลยีและการสื่อสารได้เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ในการดำเนินชีวิตประจำวันของมนุษย์อุปกรณ์สื่อสารและคอมพิวเตอร์ได้เข้าม...

หน่วยที่ 1 การถ่ายทอดแนวคิดสู่ชิ้นงาน ความหมายของสตอรี่บอร์ด สตอรี่บอร์ด ( Story Board)  คือ การเขียนกรอบแสดงเรื่องราวที่สมบูรณ์ข...